Back

หลังจากที่ได้มีโอกาสถ่ายงานให้บริษัทโรงงานน้ำตาล บุรีรัมย์ จำกัด

อยู่หลายรอบ ก็เริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้โรงงานค่อยๆ พัฒนามาอย่างยั่งยืน คือการที่โรงงานลงไปมีส่วนร่วมกับชาวบ้าน ให้นักส่งเสริมลงไปดูแลและให้ความรู้อย่างจริงจังเพราะเชื่อว่า "น้ำตาลสร้างในไร่" คือการที่ส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อย ที่สู้อุตสาหะ ลงแรงกาย แรงใจ เป็นแรมปี บำรุงรักษาอ้อยของตนเป็นอย่างดี ให้มีความหวานของน้ำตาลธรรมชาติมาจากไร่อ้อย ที่ดีที่สุด ให้กับผู้บริโภค และนักส่งเสริมก็พาไปดูพื้นที่ที่อดีตเคยเป็นนา ซึ่งก่อนนี้ชาวไร่ไม่คิดว่าดินที่มีน้ำขังหรือพื้นทีซึ่งมีน้ำขังจะสามารถปลูกอ้อยได้ แต่จริงๆ แล้วพื้นที่นาบริเวณนั้นเป็นนากะเทิน นาสูง สามารถ ปลูกอ้อย ได้ดีผลผลิตสูง และโรงงานก็มีนักส่งเสริมที่คอยให้คำแนะนำวิธีการปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดี และก็มีวิธีปรับสภาพดินและเตรียมดินให้พร้อมที่จะปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตดี ก็เลยทำให้ชาวไร่เริ่มหันมาปลูกอ้อยเป็นรายได้หลักกันมากขึ้นเพราะว่าราคาอ้อยดีกว่า ดีมากพอที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตชาวบ้านได้เหมือนกับที่ผมได้เคยคุยกับชาวไร่บ้านหนึ่งที่บอกว่า "ที่ลืมตาอ้าปากได้ทุกวันนี้ก็เพราะปลูกอ้อยและวันๆ เที่ยวขี่มอเตอร์ไซค์ไปดูแปลงอ้อยของตัวเองพอเห็นมันงามก็มีความสุขแล้ว" ส่วนพื้นที่นาหลายบ้านที่ผมเห็นก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ลดขนาดลงอาจจะให้เพียงพอสำหรับเป็นเกษตรกรรมในหมู่บ้านและครัวเรือน