บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด

บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด ("BPC") จดทะเบียนจัดตั้งในปี 2554 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 170,000,000 บาท ซึ่งถือหุ้นโดย BEC ร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ของกลุ่มบริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ มีกำลังการผลิตติดตั้งจำนวน 9.9 เมกะวัตต์ โดยใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงหลัก และยังสามารถใช้ไม้สับและใบอ้อย เป็นวัตถุดิบในการผลิต กระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย โรงไฟฟ้า BPC ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า BEC และโรงงานน้ำตาล BSF เพื่อความสะดวกในการขนส่งกากอ้อยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้แก่ กฟภ. ซึ่ง BPC ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับ กฟภ. ในระบบ Feed-in-Tariff (FiT) ที่ปริมาณพลังงานไฟฟ้าสูงสุด 8 เมกะวัตต์ ที่ระบบแรงดัน 22,000 โวลต์ และเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเดือนเมษายน 2558 ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าของ BPC ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2558

รายละเอียดโดยทั่วไป

โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกำลังผลิต 9.9 เมกกะวัตต์ โดยใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิง โครงการนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์โดยมีบริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการ พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโครงการนี้จะขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ภายใต้โครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก(Very Small Power Producer;VSPP)

ที่ตั้งโครงการ

พื้นที่โครงการตั้งบ้านเลขที่ 289 หมู่ที่ 2 บ้านสาวเอ้ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่นๆ ดังนี้

ทิศเหนือ

จรดพื้นที่โรงไฟฟ้าชีวมวล

ทิศใต้

จรดพื้นที่ดินของบุคคลอื่น

ทิศตะวันออก

จรดพื้นที่โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์

ทิศตะวันตก

จรดถนนสาธารณะขนาด 2 ช่องจราจร ถัดไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

พื้นที่ดินของโครงการมีขนาดเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 46.96 ไร่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่โรงฟ้า พื้นที่บ่อกักเก็บน้ำดิบ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ก่อสร้างสำนักงาน และอาคารเก็บเชื้อเพลิง

เชื้อเพลิง

ลักษณะของโรงไฟฟ้า

  • การผลิตกระแสไฟฟ้า

    โครงการสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 9.9 เมกกะวัตต์(Gross) หลังจากหักกระแสไฟฟ้าที่ใช้เองภายในพื้นที่โครงการจำนวน 1.5 เมกกะวัตต์ ทั้งนี้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ 8 เมกกะวัตต์ (Net) จะขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคภายใต้โครงการผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer) โดยมีเป้าหมายการเดินเครื่องเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า 71,280,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี พร้อมกันนี้ ยังมีไอน้ำเหลือ 72,000 ตันต่อปี

  • ความต้องการของเชื้อเพลิง

    โครงการมีความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับการผลิตไฟฟ้าปริมาณ 470.27 ตัน/วัน จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของเชื้อเพลิงชีวมวลที่ใช้ คือ กากอ้อย หรือ แกลบ พบว่าปริมาณซัลเฟอร์ที่มีอยู่ค่อนข้างต่ำประมาณร้อยละ 0.05-0.07 ดังนั้นปริมาณอากาศที่ปล่อยออกมาจึงมีการปนเปื้อนของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) ค่อนข้างต่ำ

  • กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า

    โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก มีกำลังผลิต 9.9 เมกกะวัตต์ โดยใช้ไอน้ำจากหม้อต้มไอน้ำ(Boiler) ที่เกิดจากการเผาไหม้ของชีวมวล ไอน้ำที่ได้จะมีแรงดันและอุณหภูมิเพียงพอที่จะขับกังหันไอน้ำซึ่งต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเมื่อกังหันไอน้ำหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะถูกแปลงจากแรงดันปานกลาง(3,300 โวลท์) เป็นแรงดันสูง(22,000 โวลท์)โดยหม้อแปลงไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งเข้าสู่สายส่งไฟฟ้าระบบเหนือดิน 22 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร

การควบคุมมลสารทางอากาศ

มลสารที่เกิดขึ้นจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของโครงการนี้ จะมีมลสารที่ระบายสู่บรรยากาศ ระบบควบคุมมลสารทางอากาศ สรุปได้ดังนี้

Sulfur Dioxide (SO2)

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

จากผลการวิเคราะห์เชื้อเพลิงประเภทกากอ้อยพบว่ามีความชื้น 52% และมีปริมาณซัลเฟอร์ 0.05% wt ซึ่งทางโครงการจะทำการควบคุมปริมาณก๊าซ SO2 ที่ออกจากปล่องโครงการไม่เกิน 60 ppm. ที่ 50% excess air หรือ 7% excess O2 ตามมาตรฐานที่กำหนด

Nitrogen Dioxide (NO2)

ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)

ในการควบคุมการปนเปื้อนของ NO2 ทำได้โดยการควบคุมอัตราการควบคุมอัตราการป้อนอากาศของพัดลม ซึ่งจะควบคุมอุณหภูมิการเผาไหม้ในเตาเผา การควบคุมนี้จะทำให้การปนเปื้อนของ NO 2 ในอากาศถูกจำกัดไว้ไม่เกิน 200 ppm.(50% Excess Air หรือ 7% excess O2).

Total suspended particulate (TSP)

ฝุ่นละอองแขวนลอย(TSP)

อากาศเสียจากการเผาไหม้หม้อไอน้ำจะผ่านไปยัง ระบบดักจับฝุ่นแบบลมหมุนวน(multi-Cyclone) ซึ่งประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นมากกว่า 60% ฝุ่นขนาดเล็กที่เหลืออยู่จะเข้ามาระบบดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต(Electrostatic Precipitator) ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่น 99.60 % ซึ่งทางโครงการจะทำการควบคุมปริมาณก๊าซ TSP ที่ออกจากปล่องโครงการไม่เกิน 120 mg/Nm3 ที่ 50% excess air หรือ 7% excess O2 ตาม