บริษัท บุรีรัมย์วิจัยและพัฒนาอ้อย จำกัด

บริษัท บุรีรัมย์วิจัยและพัฒนาอ้อย จำกัด (“BRD”) เดิมชื่อ บริษัท บุรีรัมย์จักรกลพัฒนา จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งในปี 2539 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท และเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 บริษัท ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 70,880,000 บาท เรียกชำระแล้วเต็มจำนวน และในปีเดียวกันบริษัทได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บุรีรัมย์วิจัยและพัฒนาอ้อย จำกัด โดย BRR ถือหุ้นร้อยละ 99.99

BRD เป็นบริษัทย่อย ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบให้กับ BSF และดำเนินธุรกิจโดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อยในลักษณะ Contract farming เพื่อให้มีวัตถุดิบที่เพียงพอกับกำลังการผลิตของ BSF รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับพันธุ์อ้อย ระบบการบริหารจัดการน้ำ เครื่องจักรที่ใช้สนับสนุนการเพาะปลูก การบริหารจัดการระบบชาวไร่ ด้วยระบบไร่ออนไลน์ (Online) ระบบจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ แบบ MIS (Management Information System) และระบบแผนที่แปลงอ้อย GIS (Geographic Information System) และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถดำเนินงาน ควบคุม ติดตามผล และแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ รวมถึงการให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติแก่เกษตรกรในการปลูกอ้อย

เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกร และยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่เกษตรกรเพื่อการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และมีรายได้หลักในการเลี้ยงครอบครัว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านวิชาการและการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของชาวไร่อ้อย

พันธกิจ

ส่งเสริมชาวไร่อ้อยในพื้นที่บริเวณรอบโรงงานรัศมี 40 กิโลเมตร ให้มีผลผลิตต่อไร่สูง และมีคุณภาพดีด้วยหลักวิชาการและความรับผิดชอบต่อชาวไร่

พัฒนาระบบบริหารงานการจัดการเพื่อความมั่นคงของผลผลิตและผลกำไรของชาวไร่

พัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรและชาวไร่

ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรและชาวไร่อ้อยให้เติบโตมั่นคงไปพร้อมกัน

งานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองความยั่งยืนของการประกอบอาชีพการทำไร่อ้อย

ค่านิยมร่วม

ภารกิจ

  • ให้การส่งเสริมปัจจัยการผลิตในการปลูกอ้อยแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อให้ได้อ้อยเข้าหีบทั้งปริมาณ และคุณภาพตามเป้าหมาย
  • เป็นผู้ให้คำแนะนำ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้ปลูกอ้อยอย่างถูกวิธี เหมาะสม และถูกเวลา ส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าจากอาชีพปลูกอ้อย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และปลูกอ้อยเป็นอาชีพอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาบุคลากรในสายจัดหาวัตถุดิบทุกระดับ ให้มีความชำนาญการ มีศักยภาพในการดูแลและแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้มีความรู้ เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และยั่งยืนอย่างมีความสุข
  • เป็นผู้ศึกษาและพัฒนารูปแบบการปลูกอ้อยแผนใหม่ พันธุ์อ้อย และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยของโรงงานแต่ละเขตพื้นที่ส่งเสริม เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น

การบริหารจัดการที่เป็นเลิศซึ่งทำให้บริษัทฯ เป็นโรงงานน้ำตาลต้นแบบของประเทศไทย

  1. การจัดทำระบบ Smart Farm
  2. การใช้ระบบ GIS ในการวางแผนจัดการแปลงอ้อยรายแปลง เพื่อให้ได้ผลผลิตและน้ำตาลต่อไร่สูงสุด
  3. ระบบการส่งเสริมและตรวจติดตามระดับรายแปลงตามหลักวิชาการ และการตรวจเยี่ยมเกษตรกรตามรอบที่กำหนดให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย
  4. ระบบการส่งเสริมแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
  5. การพัฒนาบุคลากรขององค์กรและเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถ
  6. การสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความเชื่อมั่นในอาชีพการทำไร่อ้อย

รายละเอียดโดยทั่วไป

บริษัท บุรีรัมย์วิจัยและพัฒนาอ้อย จำกัด เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบก็คือ “อ้อย” ส่งให้กับโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ โดยหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ

การส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกอ้อยเพื่อส่งขายให้กับโรงงานฯ ในลักษณะการส่งเสริมแบบมีสัญญา (Contac Farming)ในลักษณะการให้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ บริษัทฯจะให้ความรู้ คำแนะนำ และใช้ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพที่ทันสมัยในการตรวจติดตามการปลูกอ้อยของเกษตรกรระดับรายแปลงทุกแปลง ให้มีมาตรฐานทุกขั้นตอน โดยอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาที่จะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีผลผลิตและกำไรสูงสุด และเป็นการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การส่งเสริมอยู่ในรูปของการจัดให้มีนักส่งเสริม และนักวิชาการเข้าไปดูแลรับผิดชอบเกษตรกรทุกรายตั้งแต่การปลูกจนนำอ้อยส่งเข้าโรงงานเพื่อผลิตและแปรรูปเป็นน้ำตาลทราย และผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ที่เป็นต้นน้ำสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป

บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานวิชาการในการทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของเกษตรกร โดยมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นต้น เพื่อให้การผลิตอ้อยมีผลตอบแทนสูงสุด และทำการถ่ายทอดให้กับเกษตรกรนำไปใช้ต่อ เช่นงานปรับปรุงพันธุ์อ้อย งานพัฒนาดินและปุ๋ย งานส่งเสริมการใช้ระบบน้ำ และงานควบคุมป้องกันกำจัดศัตรูอ้อย เป็นต้น

Smart is Beautiful

จุดยืนที่แน่วแน่ของ BRD
ก้าวไปด้วยกัน ชาวไร่อ้อยเข้มแข็ง โรงงานเข้มแข็ง
งานจัดหาวัตถุดิบ งานวิจัยและพัฒนา งานสนับสนุน
  1. ด้านปริมาณ
    โซนส่งเสริมการปลูกอ้อย รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่รอบโรงงาน แบ่งเป็น 17 โซนส่งเสริม เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การส่งเสริมมากยิ่งขึ้น โดยมีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกเป็นช่องทางการสื่อสารและให้คำปรึกษากับชาวไร่
  2. ด้านคุณภาพและการพัฒนาชาวไร้อ้อย
    • การอบรมและสร้างองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
    • สร้างความเข้มแข็ง โดยจัดกลุ่มเกษตรกรร่วมกัน ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอ้อยและติดตามการปฎิบัติของสมาชิกในกลุ่มแบบรายแปลง
  3. สร้างความยั่งยืน
    • งานปรับปรุงโครงสร้างดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมี และโดไลไมท์ เพื่อปรับค่า pH เพิ่มความสามมารถในการใช้ปุ๋ย และเพื่อปรับปรุงสภาพทางโครงสร้างของดินให้เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพื้นได้อย่างเหมาะสมอย่างยั่งยืน
    • งานวิจัยการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ปลูกอ้อยแต่ละแปลงได้รับปุ๋ยที่เหมาะสมได้ผลผลิตเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตได้
    • ปรับสัดส่วนพันธ์อ้อยให้เหมาะสมต่อช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว และกำลังการผลิตของโรงงาน เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ดีที่สุด สำหรับการผลิตน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    • การจัดทำแปลงทดสอบพันธ์อ้อย เพื่อคัดพันธ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกของเกษตรกรมากที่สุด
    • การใช้ชีววิธี (Biological Control) เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูอ้อย
  1. แผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้พันธุ์อ้อย “ผลผลิต น้ำตาลต่อไร่สูงสุด และต้านทานโรคแมลง”
    • ทดลองและตรวจสอบหาพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
    • งานวิจัยและส่งเสริมการใช้พันธุ์อ้อยตามสัดส่วน
    • ขยายพันธุ์อ้อยพันธุ์หลักให้กับเกษตรกร
    • การพัฒนาและปรับปรุงดิน และใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับการปลูกอ้อยและเพิ่มผลผลิต
    • เทคโนโลยีการควบคุมโรคและแมลงศัตรูอ้อย แบ่งเป็นงานสำรวจเฝ้าระวังงานเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ งานควบคุมการระบาดโดยใช้วิธีผสมผสาน งานถ่ายทอดอบรมความรู้ และกลุ่มเกษตรกรเข็มแข็ง
  2. แผนพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย
    • การสร้างปราชญ์ชาวไร่อ้อย (Training For The Trainer )
    • การสร้างกลุ่มเกษตรกรเข็มแข็ง
    • การตรวจแปลงและตรวจเยี่ยมเกษตรกร
    • การสร้างหมู่บ้านต้นแบบ ผลผลิตสูง (Model)
    • โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย (Training Center)
    • อบรมให้ความรู้ และศึกษาดูงาน
  3. แผนการพัฒนาบุคคลากรและงานส่งเสริม
    • พัฒนาความรู้และทักษะในงาน
    • อบรมศึกษาดูงานนอกสถานที่อย่างต่อเนื่อง
    • ระบบตัวชี้วัด (KPI) และมี Incentive
    • การพัฒนาหลักสูตรสำหรับพนักงาน
  1. ระบบบริหารจัดการ
    • ระบบ MIS (Management Information System) คือ การทางานบนเว็บไซต์ เพื่อการบริหารจัดการไร่อ้อย การตรวจติดตามคุณภาพอ้อยรายแปลง การติดตามการปฎิบัติงานของเกษตรกรตามงวดงาน และ Growth Rate ของอ้อย และระบบคิวลงอ้อย ตัดอ้อย และขนส่งอ้อย
    • ระบบ GIS (Geographic information system) คือ การวางแผนการส่งเสริม และพัฒนาเพิ่มผลผลิต ติดตามมาตรฐานการปปฎิบัติของเกษตรกร (ตรวจ Route) ติดตาม ป้องกัน และควบคุมการระบาดของโรคแมลงศัตรูอ้อย การบริหารการให้สินเชื่อ การตัด และการขนส่งอ้อยของเกษตรกร
    • ระบบการตรวจติดตาม (Audit) UAV เพื่อการติดตามแปลงอ้อย
    • ระบบงวดงาน และ KPI
  2. การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับระดับฟาร์มของเกษตรกร
    • เครื่องมือในการเตรียมดินปลูก
    • เครื่องมือในการบำรุงรักษา
    • เครื่องมือในการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อย